การใช้บริการทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ผ่านเครือข่ายวิทยาลัยเทคนิคเลย มีความสะดวก

วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

เตรียมอุดช่องโหว่ "วิกฤติ" ใน Windows


       รายงานข่าวแจ้งว่า ไมโครซอฟท์แจ้งเตือนลูกค้าให้ทราบเกี่ยวกับการแพตช์ประจำเดือนนี้ ซึ่งจะให้บริการอัพเดตในวันอังคารหน้า โดยแพตช์ล่าสุดจะอุด 6 ช่องโหว่ทางด้านความปลอดภัยที่ส่งผลกระทบกับระบบปฏิการ Windows โดยตรง และหนึ่งในนั้นเป็นช่องโหว่ที่ร้ายแรง
        ไมโครซอฟท์แจ้งเตือนลูกค้าให้ทราบถึงกำหนดการแพตช์ประจำเดือนที่กำลังจะมาถึง โดยกล่าวว่า ทางบริษัทมีแผนที่จะเปิดให้บริการชุดซอฟต์แวร์แก้ไขช่องโหว่ 6 แห่งด้วยกันในระบบปฏิบัติการ Windows โดยจะเปิดให้ผู้ใช้ได้อัพเดตในวันอังคารหน้า (9 สิงหาคม) ซึ่งหนึ่งในช่องโหว่ที่พบได้รับการจัดอันดับ “วิกฤต” ดังนั้นผู้ใช้ไม่ควรลืมติดตั้งแพตช์ด้วย

         นอกจากนี้ ทางไมโครซอฟท์ยังมีแผนที่จะอัพเดตซอฟต์แวร์ทูลส์สำหรับการกำจัดโค้ดอันตราย (Microsoft Windows Malicious Software Removal Tool) ผ่านทางบริการต่างๆ ได้แก่ Windows Update, Microsoft Update, Windows Server Update Services และ Download Center อีกด้วย

         เนื้อหาส่วนใหญ่ในอีเมล์ที่ส่งถึงลูกค้า ไมโครซอฟท์จะแจ้งถึงแพตช์ที่กำลังจะมา และการอัพเกรดระบบรักษาความปลอดภัย โดยจะเน้นเฉพาะ Windows Updates เท่านั้น ซึ่งเมื่อเดือนที่แล้ว แพตช์ที่ออกมาจะช่วยอุด 3 ช่องโหว่วิกฤติ และช่องโหว่ในโปรแกรมไมโครซอฟท์เวิร์ด

วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

Intermec CN70 Series คอมพิวเตอร์พกพาสำหรับแวร์เฮ้าส์



   เดอะแวลลูซิสเตมส์ แนะนำอินเตอร์เมค ซีเอ็น70 ซีรี่ส์ (Intermec CN70 Series) คอมพิวเตอร์แบบพกพาที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีการสื่อสารประสิทธิภาพสูงเพื่อระบบซัพพลายเชนแบบเคลื่อนที่ สำหรับงานด้านบริการขนส่งและรับส่งสินค้า
   อินเตอร์เมค ซีเอ็น70 ซีรี่ส์ (Intermec CN70 Series) นวัตกรรมทางเทคโนโลยีสำหรับแวร์เฮ้าส์แห่งอนาคต เป็นคอมพิวเตอร์แบบพกพามีขนาดเล็ก ทนทานและเบาพกพาสะดวก ประกอบด้วย 2 รุ่น คือ CN70 สำหรับการขนส่งภาคสนาม CN70e สำหรับการขนส่งในสโตร์และหน่วยขายเคลื่อนที่ที่ต้องการความรวดเร็วและแม่นยำในจัดการเรื่องขยายฐานการผลิตและจัดจำหน่าย รวมถึงกระบวนการขนส่ง ตรวจสอบสินค้าคงเหลือ การคัดเลือกสินค้า การนับจำนวนได้เป็นอย่างดี
   อินเตอร์เมค ซีเอ็น70 ซีรี่ส์ (Intermec CN70 Series) จะมีด้วยกัน 2 รุ่นคือ รุ่น CN70 และรุ่น CN70e ทั้งสองรุ่นมีทั้งแบบแป้นพิมพ์ตัวเลข (Numeric) และแบบแป้นพิมพ์ตัวอักษร (QWERTY) ใช้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์โมบาย ซึ่งมาพร้อมกับความสามารถด้านการสื่อสารที่ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงเสียงและข้อมูลความเร็วสูงได้ทุกที่ นำระบบ 802.11n Dual-band WLAN ทั้งรวมเอาเทคโนโลยี 3.75G WWAN HSUPA ไว้ในตัวเครื่องมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านการเชื่อมต่อสัญญาณสำหรับผู้ใช้ เป็นเครื่องพ็อกเก็ตพีซีสมบูรณ์แบบเลยทีเดียวนอกจากนี้ซีเอ็น70 ซีรี่ส์ มาพร้อมกับหน่วยความจำขนาด 512 เมกะไบต์ กล้องขนาด 5 ล้านพิกเซล ทำให้ผู้ใช้สามารถสแกนและถอดรหัสบาร์โค้ดหรือจับภาพต่างๆ เช่น ลายเซ็น ภาพวิดีโอที่จะเก็บไว้ใช้ภายหลังหรือส่งไปที่อื่น ๆ ก็ทำได้ทันที อีกทั้งยังเป็นเครื่องสแกนเนอร์แบบ 1D/2D ที่ทันสมัยที่สามารถสแกนได้แม้กำลังเคลื่อนไหว และสามารถจับข้อมูลในระยะไกลได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น ตัวเครื่องมีความแข็งแรงทนทานสามารถรองรับแรงกระแทกจากการตกพื้นได้สูงสุดถึง 6 ฟุต หน้าจอและปุ่มพิมพ์แข็งแรง มีระบบกันน้ำ และกันฝุ่น
จุดเด่นผลิตภัณฑ์
• เป็นเครื่องสแกนเนอร์แบบ 1D/2D ที่ทันสมัยที่สามารถสแกนได้แม้กำลังเคลื่อนไหว และสามารถจับข้อมูลในระยะไกลได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น
• นำระบบ 802.11n dual-band WLAN มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านการเชื่อมต่อสัญญาณสำหรับผู้ใช้
• สามารถรองรับแรงกระแทกจากการตกพื้นได้สูงสุดถึง 6 ฟุต
• หน้าจอและปุ่มพิมพ์แข็งแรง มีระบบกันน้ำ กันฝุ่น
• แผงวงจรคอมพิวเตอร์ที่จะแสดงอาการผิดปกติของเครื่องอย่างละเอียดแม่นยำ และสามารถตรวจสอบคุณภาพของอุปกรณ์ได้
คุณสมบัติทั่วไป
• Keypad :
- Numeric keypad with backlit shifted plane legends
- QWERTY keypad
- All keypad options feature hard keycaps with laser-etched legends.
• Standard Configuration :
- Integrated Camera Option: 5-Megapixel autofocus color camera with LED flash
- Global Positioning System: 12-channel Integrated GPS; Network-independent autonomous mode; supports assisted operation via WAN
- Accelerometer: Embedded accelerometer enables automatic or application-specific features such as screen rotation or system suspend
- IrDA
- Integrated Bluetooth® Class II, Version 2.1+EDR
• Display :
- 8.9cm (3.5in) Transmissive VGA
- 480 x 640 pixels
- 65,536 (16 bit RGB) Colors
- High-Durability Touch Screen
- LED Backlight
- Ambient Light Sensor
• Memory and Storage :
- Flash ROM: 1 GB Flash (800 MB available)
- Memory/Storage Extensions: Customer-accessible micro-SD slot for removable memory cards up to 32 GB
- RAM Memory: 512 MB RAM (384 MB available)
• Microprocessor : Multi-Processor Architecture Texas Instruments® 600MHz OMAP3® multi-engine processor architecture including dedicated DSPs for high performance imaging and audio processing
• Operating System : Microsoft Windows Embedded Handheld built on Windows 6.5.3 technology
สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ได้ที่ : ฝ่ายผลิตภัณฑ์ บริษัทเดอะแวลลูซิสเตมส์ จำกัด โทร. 0-2661-6666 หรือสามารถเข้าชมได้ที่เว็บไซต์ http://www.value.co.th/

นวัตกรรมคอมพิวเตอร์พกพาปี 2020

นวัตกรรมคอมพิวเตอร์พกพาปี 2020

  คอมพิวเตอร์แห่งอนาคตเล็กแค่เพียงปลายปากกา(เจ๋งจริงๆ) กับปากากคอมพิวเตอร์นวัตกรรมใหม่แห่งปี2020ที่ญี่ปุ่นได้พัฒนาขึ้น ให้คอมพิวเตอร์นั้นมีขนาดเล็กเหมาะกับการพกพาและการทำงานอย่างแท้จริง เป็นอีกครั้งที่ญี่ปุ่นต้องการพัฒนาคอมพิวเตอร์PCให้กลายเป็นปากกาพกพาเสมือนว่ามี.คีย์บอร์ด และจอภาพสำหรับใช้งานให้อยู่ในตัวปากกาเพียงด้ามเดียว 
และการทำงานทำได้บนพื้นผิวแบบระบบสัมผัสโดยผ่านการสั่งงานจากบูรธูท 

  แต่แนวคิดนี้จะสำเร็จหรือไม่นั้นก็คงต้องมารอดูกันในปี2020ข้างหน้านี้ พวกเราจะมีโอกาสได้ใช้"ปากกาคอมพิวเตอร์" ไฮเทคด้ามนี้กันรึป่าว หรือว่าจะเป็นแค่เพียงแนวคิดเท่านั้น

 

ชนิดของคอมพิวเตอร์

       คอมพิวเตอร์มีขนาดและความสามารถแตกต่างกันไป ด้านหนึ่งเป็น ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่มาก มีตัว ประมวลผลที่เชื่อมโยงกันอยู่เป็นพันๆ ตัวที่รับหน้าที่ทำการคำนวณที่ซับซ้อนมาก ส่วนอีกด้านเป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่ฝังตัวอยู่ในรถยนต์ ทีวี ระบบสเตอริโอ เครื่องคิดเลข และเครื่องใช้ต่างๆ คอมพิวเตอร์เหล่านี้สร้างขึ้นเพื่อทำงานแบบจำกัด
คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือ พีซี ได้รับการออกแบบให้ใช้ได้คราวละหนึ่งคน หัวข้อนี้จะอธิบายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลชนิดต่างๆ ได้แก่ คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ แล็ปท็อป คอมพิวเตอร์มือถือ และแท็บเล็ตพีซี

คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ

    คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ ได้รับการออกแบบมาเพื่อใช้บนโต๊ะ โดยทั่วไปจะมีขนาดใหญ่กว่าและมีประสิทธิภาพมากกว่าคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลชนิดอื่นๆ คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะประกอบด้วยชิ้นส่วนที่แยกออกจากกัน ส่วนประกอบหลักที่เรียกว่า หน่วยระบบ มักจะเป็นเครื่องทรงสี่เหลี่ยมซึ่งวางอยู่บนหรือใต้โต๊ะ ส่วนประกอบอื่นๆ เช่น จอภาพ เมาส์ และแป้นพิมพ์ จะเชื่อมต่อกับหน่วยระบบ
คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ
คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ

คอมพิวเตอร์แล็ปท็อป

    คอมพิวเตอร์แล็ปท็อป เป็นพีซีแบบเคลื่อนที่ได้ มีน้ำหนักเบาและมีหน้าจอที่บาง หรือมักจะเรียกกันว่า คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก เพราะมีขนาดเล็ก แล็ปท็อปสามารถทำงานโดยใช้แบตเตอรี ดังนั้นคุณจึงสามารถนำแล็ปท็อปไปได้ทุกที่ อย่างไรก็ตาม แล็ปท็อปจะไม่เหมือนคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ เนื่องจากจะรวม CPU หน้าจอ และแป้นพิมพ์ไว้อยู่ในตัวเครื่องเดียวกัน หน้าจอจะพับลงบนแป้นพิมพ์เมื่อไม่ได้ใช้งาน
คอมพิวเตอร์แล็ปท็อป
คอมพิวเตอร์แล็ปท็อป

คอมพิวเตอร์มือถือ

   คอมพิวเตอร์มือถือ หรือที่เรียกว่า เครื่องช่วยงานส่วนบุคคลแบบดิจิทัล (PDA) เป็นคอมพิวเตอร์ที่ทำงานด้วยแบตเตอรีและเล็กพอที่จะพกพาไปได้ทุกที่ แม้ว่าประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์มือถือจะไม่เท่ากับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะหรือแล็ปท็อป แต่คอมพิวเตอร์มือถือก็มีประโยชน์สำหรับการกำหนดการนัดหมาย การเก็บที่อยู่และหมายเลขโทรศัพท์ รวมถึงการเล่นเกมต่างๆ คอมพิวเตอร์มือถือบางเครื่องมีประสิทธิภาพสูงกว่านั้น เช่น สามารถใช้โทรศัพท์หรือใช้อินเทอร์เน็ตได้ แทนที่จะใช้แป้นพิมพ์ คอมพิวเตอร์มือถือมีหน้าจอสัมผัสที่คุณสามารถใช้โดยใช้นิ้วมือ หรือ สไตลัส (อุปกรณ์ชี้ที่มีรูปร่างเหมือนปากกา)
คอมพิวเตอร์มือถือ
คอมพิวเตอร์มือถือ

แท็บเล็ตพีซี

      แท็บเล็ตพีซี คือพีซีเคลื่อนที่ที่รวมคุณลักษณะของแล็ปท็อปและคอมพิวเตอร์มือถือเข้าด้วยกัน แท็บเล็ตพีซีเหมือนกับแล็ปท็อป คือมีประสิทธิภาพมากและมีหน้าจอแบบในตัว แท็บเล็ตพีซีเหมือนกับคอมพิวเตอร์มือถือตรงที่อนุญาตให้คุณเขียนบันทึกหรือวาดภาพบนหน้าจอ โดยทั่วไปโดยใช้ ปากกาแท็บเล็ต แทนที่จะเป็นสไตลัส นอกจากนี้ยังสามารถแปลงลายมือของคุณให้เป็นข้อความแบบพิมพ์ได้ แท็บเล็ตพีซีบางเครื่องเป็นแบบ "พับ" โดยมีหน้าจอที่หมุนได้และเปิดออกเพื่อให้เห็นแป้นพิมพ์ที่อยู่ด้านล่างได้
แท็บเล็ตพีซี
แท็บเล็ตพีซ


              อ้างอิง

วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์

.......สมัยโบราณมนุษย์รู้จักการนับด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น นับเศษไม้ ก้อนหิน ลูกปัด การใช้นิ้วมือ การขีดเป็นรอย ชาวจีนคิดประดิษฐ์เครื่องมือนับเรียกว่า “ลูกคิด” (Abacus) โดยได้แนวคิดจากการเอาลูกปัดร้อยเก็บเป็นพวงในสมัยโบราณ จึงนับได้ว่าลูกคิดเป็นเครื่องมือนับที่มนุษย์คิดขึ้นเป็นสิ่งแรกของโลกเมื่อประมาณ 500 ปีก่อนคริสต์ศักราช และยังคงเป็นที่นิยมใช้กันอยู่จนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฝึกคิดคำนวณของเด็ก ๆ ที่ฉลาด ครูได้นำเอาลูกคิดมาใช้ช่วยในการฝึกคิดให้กับเด็กและได้ผลดีเป็นอย่างยิ่ง

ลูกคิด
ความพยายามที่จะผลิตเครื่องมือนับเพื่อช่วยผ่อนแรงสมองที่จะต้องคิดคำนวณจำนวนเลขต่าง ๆ มีอยู่ตลอดเวลา จากเครื่องที่ใช้มือ มาใช้เครื่องจักร ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน ซึ่งมีวิวัฒนาการตามลำดับดังนี้ 
......ค.ศ. 1617 : จอห์น เนเปียร์ (John Nepier) ชาวสก็อต ประดิษฐ์เครื่องคิดเลข “เนเปียร์ส โบนส์” (Nepier’s Bones) 
......ค.ศ. 1632 : วิลเลี่ยม ออตเทรด (William Oughtred) ประดิษฐ์ไม้บรรทัดคำนวณ (Slide Rules) เพื่อใช้ในทางดาราศาสตร์ ถือเป็น คอมพิวเตอร์อนาลอก เครื่องแรกของโลก
  
เบลส ปาสคาล

Adding Machine ของ ปาสคาล
......ค.ศ. 1642 : เบลส ปาสคาล (Blaise Pascal: 1623 - 1662) ชาวฝรั่งเศส ประดิษฐ์เครื่องบวกเลขแบบมีเฟืองหมุนคือมีฟันเฟือง 8 ตัว เมื่อเฟืองตัวหนึ่งนับครบ 10 เฟืองตัวติดกันทางซ้ายจะขยับไปอีกหนึ่งตำแหน่ง ซึ่งหลักการนี้เป็นรากฐานของการพัฒนาเครื่องคำนวณ และถือว่า เครื่องบวกเลข (Adding Machine) ของปาสคาลเป็น เครื่องบวกเลขเครื่องแรกของโลก

กอตฟริต ฟอน ไลบนิซ
......ค.ศ. 1673 : กอตฟริต ฟอน ไลบนิซ (Gottfried von Leibniz : 1646 - 1716) นักปรัชญาและนักคณิตศาสตร์ ชาวเยอรมัน ออกแบบเครื่องคิดเลขแบบใช้เฟืองทดเพื่อทำการคูณด้วยวิธีการบวกซ้ำ ๆ กัน ไลบนิซเป็นผู้ค้นพบจำนวนเลขฐานสอง (Binary Number) ซึ่งประกอบด้วยเลข 0 และ 1 เป็นระบบเลขที่เหมาะในการคำนวณ เครื่องคิดเลขที่ไลบนิซสร้างขึ้น เรียกว่า Leibniz Wheel สามารถ บวก ลบ คูณ หาร ได้

โจเซฟ มารี แจคการ์ด
......ค.ศ. 1804 : โจเซฟ มารี แจคการ์ด (Joseph Marie Jacquard : 1752 - 1834) ชาวฝรั่งเศส เป็นผู้คิดประดิษฐ์ Jacquard’s Loom เป็นเครื่องทอผ้าที่ควบคุมการทอผ้าลายสีต่าง ๆ ด้วยบัตรเจาะรู (Punched – card) จึงเป็นแนวคิดในการประดิษฐ์เครื่องเจาะบัตร (Punched – card machine) สำหรับเจาะบัตรที่ควบคุมการทอผ้าขึ้น และถือว่าเป็นเครื่องจักรที่ใช้โปรแกรมสั่งให้เครื่องทำงานเป็นเครื่องแรก 
......ค.ศ. 1822 : ชาร์ลส์ แบบเบจ (Charles Babbage: 1792 - 1871) ศาสตราจารย์ทางคณิตศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ของอังกฤษ มีแนวความคิดสร้างเครื่องหาผลต่าง เรียกว่า Difference Engine โดยได้รับความช่วยเหลือจากราชสมาคม (Royal Astronomical Society) ของรัฐบาลอังกฤษ สร้างสำเร็จในปี ค.ศ. 1832

ชาร์ลส์ แบบเบจ
......จากนั้นในปี ค.ศ. 1833 ชาร์ลส์ แบบเบจ ได้คิดสร้างเครื่องวิเคราะห์ (Analytical Engine) ซึ่งแบ่งการทำงานออกเป็น 3 ส่วนคือ ส่วนเก็บข้อมูล ส่วนควบคุม และส่วนคำนวณ โดยออกแบบให้ใช้ระบบพลังเครื่องยนต์ไอน้ำเป็นตัวหมุนเฟือง และนำบัตรเจาะรูมาใช้ในการบันทึกข้อมูล สามารถคำนวณได้โดยอัตโนมัติและเก็บผลลัพธ์ไว้ในหน่วยความจำก่อนแสดงผล ซึ่งจะเป็นบัตรเจาะรูหรือพิมพ์ออกทางกระดาษ แต่ความคิดของแบบเบจ ไม่สามารถประสบผลสำเร็จเนื่องจากเทคโนโลยีในสมัยนั้นไม่เอื้ออำนวย แบบเบจเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1871 ลูกชายของแบบเบจคือ Henry Prevost Babbage ดำเนินการสร้างต่อมาอีกหลายปีและสร้างเสร็จในปี ค.ศ. 1910
  
Difference
  
Analytical Engine
หลักการของแบบเบจ ถูกนำมาใช้ในการสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์สมัยใหม่จนถึงปัจจุบัน แบบเบจจึงได้รับการยกย่องให้เป็น บิดาแห่งคอมพิวเตอร์
http://www.chakkham.ac.th/technology/computer/web_files/ada20copy.jpeg
Lady Ada Augusta Lovelace
......เลดี้ เอดา ออกัสตา ลัฟเลซ (Lady Ada Augusta Lovelace) นักคณิตศาสตร์ผู้ร่วมงานของแบบเบจ เป็นผู้ที่เข้าใจในผลงานและแนวความคิดของแบบเบจ จึงได้เขียนบทความอธิบายเทคนิคของการเขียนโปรแกรม วิธีการใช้เครื่องเพื่อแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เป็นครั้งแรก ทำให้เกิดความเข้าใจในผลงานของแบบเบจได้ดีขึ้น Ada จึงได้รับการยกย่องให้เป็น นักโปรแกรมคนแรกของโลก 

......ค.ศ.1850 : ยอร์ช บูล (George Boole) นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้สร้างแนวคิดเกี่ยวกับระบบพีชคณิตแบบใหม่ เรียกว่า Boolean Algebra เพื่อใช้หาข้อเท็จจริงจากเหตุผลต่าง ๆ และแต่งตำราเรื่อง “The Laws of Thoughts” ว่าด้วยเรื่องของการใช้เครื่องหมาย AND, OR, NOT ซึ่งเป็นรากฐานทางคณิตศาสตร์ให้กับการพัฒนาทางด้านไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เช่น สวิตช์ปิดหรือเปิด การไหลของกระแสไฟฟ้า ไหลหรือไม่ไหล ตัวเลขจำนวนบวกหรือลบ เป็นต้น โดยที่ผลลัพธ์ที่ได้จากพีชคณิตจะมีเพียง 2 สถานะคือ จริงหรือเท็จเท่านั้น ซึ่งอาจจะแทนจริงด้วย 1 และแทนเท็จด้วย 0 
......ค.ศ. 1884 : ดร.เฮอร์มาน ฮอลเลอริธ (Dr.Herman Hollerith) นักสถิติชาวอเมริกัน เป็นผู้คิดประดิษฐ์บัตรเจาะรูสำหรับเก็บข้อมูล โดยได้แนวคิดจากบัตรควบคุมการทอผ้าของ Jacquard และวิธีการหนีบตั๋วรถไฟของเจ้าหน้าที่รถไฟ นำมาดัดแปลงและประดิษฐ์เป็นบัตรเก็บข้อมูลขึ้น และทำการสร้างเครื่องคำนวณไฟฟ้าที่สามารถอ่านบัตรที่เจาะได้ ทำให้สามารถทำงานได้อย่างรวดเร็วและประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก 

......เมื่อปี ค.ศ. 1880 สำนักงานสำรวจสำมะโนประชากรสหรัฐอเมริการได้ทำการสำรวจสำมะโนประชากรโดยใช้แรงงานคนในการประมวลผล ต้องใช้เวลาถึง 7 ปีครึ่งยังไม่แล้วเสร็จ ข้อมูลที่ได้ไม่แน่นอนและไม่ค่อยถูกต้อง ต่อมา ค.ศ. 1890 สำนักงานฯ จึงได้ว่าจ้าง ฮอลเลอริธ มาทำการประมวลผลการสำรวจ ปรากฏว่าเมื่อใช้เครื่องทำตารางข้อมูล (Tabulating machine) และหีบเรียงบัตร (Sorting) ของฮอลเลอริธแล้ว ใช้เวลาในการประมวลผลลดลงถึง 3 ปี 
......ค.ศ. 1896 : ฮอลเลอริธ ได้ตั้งบริษัทผลิตและจำหน่ายอุปกรณ์การประมวลผลด้วยบัตรเจาะรู และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นบริษัทไอบีเอ็ม (International Business Machines Corporation) ในปี ค.ศ. 1924 

   
MARK 1
   
เครื่องเจาะบัตรของ Herman Hollerith
......ค.ศ.1937 : โฮเวิร์ด เอช ไอเคน (Professor Howard H. Aiken) ศาสตราจารย์ทางคณิตศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard) เป็นผู้ออกแบบและสร้างเครื่องคำนวณตามหลักการของแบบเบจได้สำเร็จ โดยนำเอาแนวคิดของ Jacquard และ Hollerith มาใช้ในการสร้างและได้รับการสนับสนุนจากวิศวกรของบริษัทไอบีเอ็ม สร้างสำเร็จในปี ค.ศ. 1943 ในชื่อว่า Automatic Sequence Controlled Calculator (ASCC) หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า MARK I Computer นับเป็นเครื่องคำนวณเครื่องแรกของโลกที่ทำงานโดยอัตโนมัติทั้งเครื่อง จัดเป็น Digital Computer และเป็นเครื่องที่ทำงานแบบElectromechanical คือเป็นแบบ กึ่งไฟฟ้ากึ่งจักรกล
......การส่งคำสั่งและข้อมูลเข้าไปในเครื่อง ใช้เทปกระดาษเจาะรู เครื่องมีขนาดใหญ่มาก ประกอบด้วยชิ้นส่วนต่าง ๆ ประมาณ 7 แสนชิ้น ใช้สายไฟยาวกว่า 500 ไมล์ ความยาวเครื่อง 55 ฟุต สูง 8 ฟุต กว้าง 3.5 ฟุต ใช้เวลาในการบวกหรือลบประมาณ 1/3 วินาที การคูณ 5 วินาที การหาร 16 วินาที นับว่าช้ามากถ้าเทียบกับปัจจุบัน เครื่อง MARK I ถูกนำมาใช้ทำงานตลอดวันตลอดคืนนานถึง 15 ปีเต็ม MARK I ยังไม่ใช่เครื่องคอมพิวเตอร์ตามแนวความคิดในปัจจุบันอย่างแท้จริง เป็นเพียงเครื่องคิดเลขไฟฟ้าขนาดใหญ่เท่านั้น แต่ถือว่าเป็นสิ่งที่น่าภูมิใจในขณะนั้น
......ค.ศ. 1943 : เจ เพรสเปอร์ เอ็คเคิร์ท (J. Presper Eckert) นักวิศวกรและ จอห์น มอชลี (John Mauchly) ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย ได้ช่วยกันสร้างเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์โดยใช้หลอดสุญญากาศ (Vacuum Tube) สร้างสำเร็จในปี ค.ศ. 1946 นับเป็น เครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์เครื่องแรกของโลก เรียกว่า ENIAC (Electronic Numerical Integrator and Calculator) 

ENIAC
ใช้หลอดสุญญากาศมากกว่า 18,000 หลอด ติดตั้งในห้องขนาด 20 X 40 ฟุต ตัวเครื่องทั้งระบบหนักเกือบ 30 ตัน บวกเลขได้ 5,000 ครั้งต่อวินาที การคูณและหารทำได้เร็ว 6 ไมโคร วินาที นับว่าเร็วขึ้นมาก เมื่อเปรียบเทียบการทำงานกับ MARK I แล้ว ถ้า ENIAC ทำงาน 1 ชั่วโมง จะเท่ากับเครื่อง MARK I ทำงานประมาณ 1 สัปดาห์ แต่การสั่งงานและการควบคุมยังต้องใช้สวิตช์และแผงเสียบปลั๊กทางสายไฟ ทุกครั้งที่เครื่องทำงานจะทำให้หลอดไฟฟ้าทั้งหมดสว่างขึ้น เป็นผลให้เกิดความร้อน หลอดไฟจึงมักจะขาดบ่อย ต้องตั้งเครื่องไว้ในห้องที่มีการปรับอุณหภูมิห้องให้เพียงพอ ENIAC เริ่มใช้งานในปี ค.ศ. 1946 และใช้งานประมาณ 10 จึงเลิกใช้
......ในระหว่างนั้นเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ทางการทหารสหรัฐอเมริกา ทำการวิจัยเกี่ยวกับโครงการสร้างลูกระเบิดปรมาณู ได้นำเอาเครื่อง MARK I และ ENIAC มาใช้ในโครงการนี้ด้วย แต่ต้องการเครื่องที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า ค.ศ. 1945 ดร.จอห์น ฟอน นอยมานน์ (Dr.John Von Neumann) นักคณิตศาสตร์ นักตรรกวิทยา และนักฟิสิกส์ แห่งมหาวิทยาลัยปรินซ์ตัน พร้อม ร.ท.เฮอร์มาน โกลด์สไตน์ (Herman Goldstein) เจ้าหน้าที่สื่อสารกองทัพบกและอดีตศาสตราจารย์คณิตศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยมิชิแกน และ ดร.อาเธอร์ เบิร์คส สมาชิกแผนกปรัชญาของมิชิแกน ได้ร่วมมือกันสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถเก็บคำสั่งการปฏิบัติงานทั้งหมดไว้ภายในเครื่องได้ เปลี่ยนแปลงข้อมูลและเปรียบเทียบได้ และใช้ระบบตัวเลขฐานสองภายในเครื่อง ชื่อว่า EDVAC (Electronic Discrete Variable Automatic Computer) และสร้างเสร็จในปี ค.ศ. 1952
......ค.ศ. 1949 : หลังจากที่มอชลีและเอ็คเคิร์ท ได้ร่วมมือกันจัดตั้งบริษัทผลิตคอมพิวเตอร์ออกขาย แต่ประสบปัญหาทางการเงิน จึงขายกิจการให้กับบริษัท Speery Rand Corporation และได้ร่วมมือกันสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ UNIVAC I (Universal Automatic Computer I) สำเร็จในปี ค.ศ. 1951 โดยใช้เทปแม่เหล็กเป็นสื่อบันทึกข้อมูล นับว่าเป็นคอมพิวเตอร์สำหรับใช้งานทางธุรกิจเป็นเครื่องแรกของโลก โดยติดตั้งให้กับบริษัท General Electric Appliance ในปี ค.ศ. 1954 ต่อมาบริษัท Speery Rand Corporation เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัทยูนิแวคและยูนิซิส จนกระทั่งบริษัทไอบีเอ็ม ได้ก้าวเข้าสู่วงการคอมพิวเตอร์ และได้พัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์จนเจริญก้าวหน้ามาตามลำดับ
http://www.chakkham.ac.th/technology/computer/web01_files/univac.jpeg
EDVAC คอมพิวเตอร์ต้นแบบเครื่องแรกของโลกUNIVAC I
......ค.ศ. 1953 : บริษัทไอบีเอ็ม สร้างเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกคือ IBM 701 และในปี ค.ศ. 1954 สร้างเครื่อง IBM 650 และเป็นแบบที่ใช้กันแพร่หลายในระยะ 5 ปีต่อมา เป็นเครื่องที่ใช้หลอดสุญญากาศ ต่อมาปรับปรุงดัดแปลงมาใช้วงแหวนแม่เหล็ก (Magnetic Core) เป็นวงแหวนเล็ก ๆ โดยจัดวางชิดกันเป็นแผ่นคล้ายรังผึ้ง เวลาเครื่องทำงาน ความร้อนจึงไม่สูง และเมื่อมีการนำทรานซิสเตอร์มาใช้แทนหลอดสุญญากาศ ทำให้สามารถลดขนาดเครื่องลงได้มาก ความร้อนลดลง ไม่เปลืองเนื้อที่ภายในเครื่อง ต้นปี ค.ศ. 1964 บริษัทไอบีเอ็ม สร้างเครื่อง IBM System 360 ใช้หลักไมโครอิเล็กทรอนิกส์ มีความในการทำงานสูงขึ้น ขนาดของเครื่องเล็กลง และมีระบบหน่วยความจำที่ดีกว่าเดิม
......คอมพิวเตอร์ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจากหลาย ๆ กลุ่ม เทคโนโลยีที่ก้าวหน้า วิทยาการที่นำสมัย ทำให้คอมพิวเตอร์เป็นที่ต้องการมากขึ้น การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้มากขึ้น คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันจึงมีประสิทธิภาพสูง ขนาดของเครื่องเล็กลง ราคาถูก เป็นที่นิยมใช้กันทั่วไป และในอนาคตคาดว่า คอมพิวเตอร์ จะกลายเป็นอุปกรณ์ที่มีความจำเป็นในการใช้งานเช่นเดียวกับเครื่องไฟฟ้าในบ้านประเภทอื่น ๆ  

วันพุธที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

คอมพิวเตอร์เบื่องต้น


คอมพิวเตอร์ คือ ?
          คอมพิวเตอร์ คือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่สามารถรับข้อมูล และคำสั่ง
แล้วนำไปประมวลผล เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ

ประเภทของเครื่องคอมพิวเตอร์
          การจัดแบ่งประเภทของ เครื่องคอมพิวเตอร์ จะอาศัยความเร็วของการ
ประมวลผล และขนาดความจำ ของหน่วยบันทึกข้อมูล ซึ่งสามารถแบ่งได้
เป็น 4 ประเภท ได้แก่
  • Supercomputers
  • Mainframe Computers
  • Minicomputers
  • Microcomputers



·         ลักษณะของแป้นพิมพ์
·                   คีย์บอร์ดเป็นอุปกรณ์รับข้อมูลเบื้องต้น มีลักษณะการทำงาน
·         คล้ายแป้นพิมพ์ของเครื่องพิมพ์ดีด แต่ได้เพิ่มปุ่มควบคุมเฉพาะสำหรับ
·         คอมพิวเตอร์
·          
·         การทำงานของแป้นพิมพ์
·                   การเปลี่ยนกลไลการกดปุ่ม ให้เป็นสัญญาณทางไฟฟ้า เพื่อส่งให้คอมพิวเตอร์
·         โดยสัญญาณดังกล่าว จะบอกให้คอมพิวเตอร์ทราบว่ามีการกดคีย์อะไร


ลักษณะของเมาส์
          อุปกรณ์รับข้อมูลที่นิยมรองจาก คีย์บอร์ด ได้แก่ อุปกรณ์ชี้ตำแหน่ง ที่เรียกว่า เมาส์
(Mouse) หรือ "หนูอิเล็กทรอนิกส์" เนื่องจากเป็น อุปกรณ์ที่มีลักษณะคล้ายหนู
มีสายต่ออยู่ที่ปลายลักษณะเดียวกับหางหนู เมาส์จะช่วยในการบ่งชี้ตำแหน่ง ว่าขณะนี้
กำลังอยู่ ณ จุดใดบนจอภาพ เรียกว่า "ตัวชี้ตำแหน่ง (Pointer)" ซึ่งอาศัยการเลื่อนเมาส์
แทนการกดปุ่มบังคับทิศทาง บนคีย์บอร์ด

พัฒนาการของเมาส์
          เมาส์พัฒนาขึ้นมาครั้งแรก ในศูนย์ค้นคว้าที่เมืองปาโลอัลโต้ ของบริษัทซีร็อก
(Xerox Corporation’s Palo Alto Research Center)

เมาส์ทำงานอย่างไร ?
          เมาส์ประกอบด้วย ลูกกลิ้งที่ติดตั้งอยู่ด้านล่าง และมีปุ่มกดควบคุม (ตั้งแต่ 1 - 3 ปุ่ม)
การใช้เมาส์จะนำเมาส์วางไว้บนพื้นราบ และเลื่อนเมาส์ไปในทิศทางที่ต้องการ
บนจอภาพจะปรากฏ สัญลักษณ์ชี้ตำแหน่ง เรียกว่า "Mouse Pointer"
(มักจะเป็นรูปลูกศรเฉียงซ้าย) เมื่อต้องการจะทำงานใดๆ ก็ทำการกดปุ่มเมาส์
ตามหลักการใช้เมาส์ คอมพิวเตอร์จะรับสัญญาณ และทำการประมวลผลต่อไป


ลักษณะของจอภาพ (Monitor)
          จอภาพเป็นอุปกรณ์แสดงผลที่มีชื่อเรียกมากมาย เช่น Monitor, CRT
(Cathode Ray Tube) ปกติแล้วจอภาพสามารถแบ่งได้ 2 ประเภท

1. จอภาพสีเดียว (Monochrome Monitor)
          จอภาพที่รับสัญญาณจากการ์ดควบคุม ในลักษณะของสัญญาณดิจิตอล
คือ 0 กับ 1 โดยการกวาดลำอิเล็กตรอนไปตกหน้าจอ แล้วเกิดเป็นจุดเรืองแสง
จะให้สัญญาณว่าจุดไหนสว่าง จุดไหนดับ จอภาพสีเดียวเวลานี้ไม่มีผู้นิยมแล้ว

2. จอภาพหลายสี (Color Monitor)
          จอภาพที่รับสัญญาณดิจิตอล 4 สัญญาณ คือ สัญญาณของสีแดง, เขียว,
น้ำเงิน และสัญญาณความสว่าง ทำให้สามารถแสดงสีได้ 16 สี ถึง 16 ล้านสี

ลักษณะของเครื่องพิมพ์

ลักษณะของ เครื่องพิมพ์แบบกระทบ (Impact Printers)
          เป็นเครื่องพิมพ์ที่อาศัย การกดหัวพิมพ์กับแถบผ้าหมึก เพื่อให้เกิดตัวอักษร
ได้แก่ เครื่องพิมพ์แบบเรียงจุด (Dot Matrix Printer) เป็นเครื่องพิมพ์ที่ได้รับความ
นิยม โดยองค์ประกอบสำคัญได้แก่ หัวพิมพ์ (Print Head) ที่ประกอบไปด้วยเข็มพิมพ์
9 เข็ม หรือ 24 เข็ม (ทำให้เรียกเครื่องพิมพ์ชนิดนี้ได้อีกว่าเครื่องพิมพ์ 9 เข็ม และ
เครื่องพิมพ์ 24 เข็ม) ชุดของเข็มพิมพ์แบบ 9 เข็มจะเรียงตรงกันในแนวตั้งคอลัมน์เดียว
ส่วนชุดของเข็มพิมพ์แบบ 24 เข็ม จะเรียงกันในแนวตั้งโดยแบ่งเป็น 3 คอลัมน์ ๆ ละ 8 เข็ม
วางเหลื่อมกันระหว่างคอลัมน์


ลักษณะของเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก (Ink Jet Printer)
          เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก ใช้หลักการพ่นหมึก ลงในตำแหน่งที่ต้องการโดยการควบคุม
ด้วยไฟฟ้าสถิตย์จากคอมพิวเตอร์ ทำให้ไม่เกิดเสียงดังในขณะใช้งานและยังสามารถพ่นหมึก
เป็นสีต่างๆ เป็นเครื่องพิมพ์สีได้อีกด้วย